วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ครกกระเบือ


 ครกกระเบือ


เป็นครกดั้งเดิมของคนไทย ทำจากดินปั้นแล้วเผา  ที่นิยมใช้กันในครัวเรือน ไม่ต่ำกว่า800ปีครกกระเบือที่เก่าแก่ที่สุดเป็นครก สมัยอยุธยาทำด้วยดินเผาสีดำ เป็นครกปากกว้าง ขอบปากปั้นเป็นรูปกลมมนโค้งวงกลม ครกกระเบือทั่วไป มีทรงสูงกว่าครกหิน เหมาะกับอาหารที่ไม่ต้องให้ละเอียดมาก เช่น น้ำพริก
ส้มตำ ครกกระเบือใช้คู่กับสากที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง เรียกไม้ตำน้ำพริก แต่ชาวบ้านเรียก "สากกระเบือ"


ลักษณะรูปทรงปัจจุบัน มีการดัดแปลงประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์ บริเวณฐานจะป้านออกเล็กน้อยเพื่อช่วยรับน้ำหนักได้ดีขึ้น

ข้อเด่นของครกประเภทนี้คือ เบ้ากลมภายในครกจะลึกและกว้าง
สามารถตำได้คราวละมากๆ











ที่มา

www.thaigoodview.com/











วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เบญจรงค์

เครื่องปั้นดินเผา ประเภทเบญจรงค์



ชุดกา ลายกนก


เครื่องเบญจรงค์หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ เขียนลายโดยลงยาด้วยสีต่างๆสีหลักทั้ง 5 อันมีสีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียว(หรือคราม) เป็นเครื่องถ้วยที่ต้องใช้ฝีมือสูง ต้องละเอียด ประณีต ปัจจุบันได้รับความนิยมแสดงความเป็นไทย ลายยอดนิยม ลายกหนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม นรสิงห์เป็นต้น


ลายพุ่มข้าวบิณฑ์



ลายเทพนม 



เครื่องถ้วยลายนรสิงห์



อ้างอิง
http://student.swu.ac.th/























โอ่งมัีงกร

โอ่งมังกร


การทำโอ่งมังกรนั้น เริ่มจากช่างจีนซึ่งมีความชำนาญในการทำเครื่องเคลือบชื่อ นายจือเหม็ง แซ่อึ้ง โอ่งมังกรหรือโอ่งราชบุรีมีการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย 
ช่วงปากโอ่ง นิยมเป็นลายดอกไม้หรือลายเครือเถา 
ช่วงลำตัว นิยมเขียนลายเป็นรูปมังกร และมังกรสองตัวเกี่ยวพันกัน ช่างเขียนต้องมีความชำนาญมาก

การเคลือบ

ผสมขี้เถ้าและน้ำโคลนและสีเล็กน้อยเป็นสีที่ได้จากออกไซด์ของเหล็ก การเคลือบ ใช้น้ำยาเคลือบราดให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอกแล้ว นำไปวางผึ่งลมไว้ 
นอกจากนี้น้ำยาที่เคลือบทำให้สีสวยเมื่อเผาช่วย สมานรอยต่างๆในเนื้อดินให้เข้ากัน


 เตาเผา

เรียกว่า ตาจีนหรือเตามังกร ก่อด้วยอิฐทนไฟ หัวเตาเจาะเป็นช่องประตู ลำเลียงโอ่ง ด้านบนของเตาสองข้างเจาะรู  เรียกว่า "ตา"เพื่อใช้ใส่เชื้อเพลิงก่อนเผาใช้อิฐปิดทางให้มิดชิด มิให้ความร้อนระบายออกมาได้ ความร้อนในเตาต้องมีอุณหภูมิถึง 12,000 องศาเซลเซียส ดูโอ่งรอจนกว่าจะสุก เสร็จแล้วทิ้งไว้ 10-12ชั่วโมง ปัจจุบันโอ่งมังกรส่งออกขายตามท้องตลาดทั่วประเทศ


อ้างอิง
http://rb-work.blogspot.com
























































วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เครื่องถ้วย

เครื่องถ้วย





เครื่องปั้นดินเผาเคลือบตรงกับภาษาอังกฤษว่า เซรามิกส์(Ceramics) ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณว่า เครามอส(Keramos) แปลว่า สิ่งที่ถูกเผา เครื่องถ้วยยังมีความหมายรวมไปถึงภาชนะอื่นๆ เช่น เครื่องแก้วเครื่องปูน เป็นต้น สำหรับเครื่องถ้วยหรือเครื่องปั้นดินเผาเคลือบนั้นมีลักษณะเนื้อดินอยู่ ๒ ชนิด คือ เนื้อดินสโตนแวร์ และเนื้อดินพอร์ซเลนหรือมักเรียกว่าเนื้อกระเบื้อง


๑). เครื่องถ้วยเนื้อดินชนิดสโตนแวร์ หมายถึง เครื่องถ้วยที่เผาถึงจุดสุกตัว (vitreous ware)ในอุณหภูมิสูง ๑๑๙๐-๑๓๙๐ องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์ ประเภทนี้มีเนื้อหยาบ แน่น ทึบแสง และมีความแข็งแกร่งมาก น้ำและของเหลวไม่สามารถไหลซึมผ่านได้


วัตถุดิบที่ใช้ต้องมีความทนไฟสูง และมีความเหนียวแข็งแกร่ง เครื่องถ้วยเนื้อดินแกร่งสโตนแวร์นิยมทำภาชนะใส่อาหาร เช่น จาน ชามถ้วยชากาแฟ เหยือกน้ำ แจกัน
และยังนิยมทำภาชนะบรรจุเช่น ไห

 ๒). เครื่องถ้วยเนื้อดินชนิดพอร์ซเลน หรือเนื้อกระเบื้อง เป็นเครื่องถ้วยที่ต้องเตรียมดินขึ้นเป็นพิเศษ เนื้อดินเมื่อเผาสุกตัวจะมีสีขาวและโปร่งแสง  ส่วนผสมของเนื้อดินประกอบด้วยหินควอตซ์ (หินฟันม้า) ดินเคโอลินดินเหนียวขาว เมื่อนำไปเผาไฟแล้วเนื้อดินละเอียด แข็งแกร่ง และเนื้อบาง เนื่องจากเนื้อดินประเภทพอร์ซเลนมีความเหนียวน้อยจึงนำไปขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อและวิธีขึ้นรูปแบบใบมีดเป็นส่วนใหญ่

ประเภทของเครื่องถ้วย 

เครื่องถ้วยส่วนใหญ่ ได้แก่ ภาชนะเครื่องใช้ อาทิ ถ้วยชาม โถ จาน แจกัน กระปุกขวด โคม ตลับ เป็นต้น
ซึ่งสามารถแยกประเภทได้อย่างกว้าง
๑).ประเภทถ้วยชาม มีแบบ รูปร่าง และขนาดต่างๆ ทั้งเคลือบสีเดียวและเคลือบหลายสีมีเนื้อดินทั้งแบบสโตนแวร์และพอร์ซเลน เพิ่มการตกแต่งเขียนลายใต้เคลือบและเขียนลายบนเคลือบ

๒). ประเภทเครื่องประดับตกแต่ง เช่น แจกันรูปปั้น โคมไฟ 


 

๓). ประเภทเครื่องสุขภัณฑ์ ได้แก่ อ่างล้างหน้า เหยือกน้ำ 



การผลิตเครื่องถ้วย

  กรรมวิธีผลิตหรือการขึ้นรูปเครื่องถ้วย
  อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยในการผลิต วิธีที่นิยมในการผลิตมีวิธีขึ้นรูปทรงต่างๆและวิธีหล่อ
  วิธีขึ้นรูปทรงต่างๆ เป็นการขึ้นรูปโดยวิธีใช้มือ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก มีหลายวิธี เป็นต้นว่า การขึ้นรูปแบบอิสระ การขึ้นรูปแบบแผ่นการขึ้นรูปแบบขด การขึ้นรูปแบบแป้นหมุน การขึ้นรูปแบบใบมีด และการขึ้นรูปแบบใช้พิมพ์กด

พัฒนาการของเครื่องถ้วย 
เกิดขึ้นจากความจำเป็นของมนุษย์ที่ต้องการภาชนะใส่อาหาร น้ำ และเครื่องใช้จำเป็นอื่นๆ ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญขึ้นก็ได้พัฒนาเครื่องถ้วยให้มีรูปแบบและคุณภาพดีขึ้นตามลำดับ และนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างกว้างขวาง





อ้างอิง

http://guru.sanook.com/



















การปั้นหม้อดิน

การปั้นหม้อดิน


 
วัตถุดิบและส่วนประกอบ


- ดินเหนียว
- ทราย
- น้ำ
- เครื่องโม่
- แท่นหมุน
- ไม้ตี ไม้ทำลวดลาย
- หินรองตี
- อุปกรณ์ในการสร้างลวดลาย





                                                                        ดินเหนียว





วิธีการทำ

1). เตรียมดิน โดยจัดหาดินเหนียวที่มีคุณภาพดีเนื้อละเอียด
2). นำดินเหนียวมานวดให้เหนียวพอดี
3). การปั้น นำดินเหนียวที่เตรียมไว้มาปั้นขึ้นรูปทรงต่างๆ
4). การเผา นำไปเผาโดยใช้ไฟอ่อนๆปล่อยให้หม้อร้อนจัดจนสุกแดงเหมือนถ่าน แล้วจึงนำออกจากเตาทิ้งไว้ให้เย็นจะมีสีแดง ถ้าเป็นสีดำจะไม่สุกดี 

ดินที่ใช้เป็นดินเหนียวธรรมชาติ ที่มีสิ่งเจือปนต่างๆน้อยมาก การเตรียมดินจะทำอย่างพิถีพิถันโดยผ่านกระบวนการ ต่างๆ จนได้เนื้อดินที่สมบูรณ์เหมาะแก่การนำไปปั้นเพื่อให้รูปทรงเครื่องปั้นเรียบสวยงาม การเผานั้น ใช้อุณหภูมิที่ 800 องศาเซลเซียส จนได้เครื่องปั้นดินเผาที่มีสีส้มและแกร่งตามลักษณะธรรมชาติ 


เครื่องปั้นดินเผาที่เผาเสร็จแล้ว


ลักษณะที่โดดเด่น คือ การใช้ดินเหนียวขึ้นรูปแบบโบราณ มีการขึ้นรูปด้วยการตีและใช้ดินสีแดงทาทับก่อนเผาจึงไม่มีสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเวลาใช้กับการประกอบอาหารและใส่น้ำดื่มเนื่องจากดินสีแดง เป็นดินที่ได้มาจากธรรมชาติ


อ้างอิง
 http://www.otoptoday.com/














การแกะสลัก ลวดลาย เครื่องปั้นดินเผา

การแกะสลักลวดลายเครื่องปั้นดินเผา

ลายที่แกะสำหรับตกแต่งเครื่องปั้นมี 3 ประเภท ตามลักษณะของวิธีการแต่งลาย คือ

1).ลายที่เกิดจากการขีดหรือสลัก

2).ลายที่เกิดจากการฉลุลายโปร่ง

3).ลายที่เกิดจากการกดให้เนื้อดินนูนขึ้น หรือต่ำลงตาม แบบของลาย






เครื่องปั้นดินเผาไทย มรดกไทย

เครื่องปั้นดินเผาไทย ที่ถือว่าเป็นมรดกของชาติ กำเนิดและมีวิวัฒนาการสั่งสมทางด้านศิลปะภูมิปัญญาพื้นบ้านมาอย่างยาวนานและกว่าที่จะกลายมาเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกที่ยิ่งใหญ่ มีมูลค่าการส่งออกนับหมื่นล้านบาท ต้องอาศัยการก่อร่างสร้างรูปมาจากระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน อาศัยทั้งความรู้ เชิงช่างทางศิลปะ ทรัพยากร เพื่อที่จะสร้างสินค้าส่งออกมูลค่ามหาศาลให้เกิดขึ้นได้ ทุกวันนี้เครื่องปั้นดินเผาของชาวลำปางนั้นมิได้เป็นเพียงอุตสาหกรรมพื้นบ้าน เพราะขยับขยายสู่อุตสาหกรรมระดับประเทศ

เครื่องปั้นดินเผาไทยสามารถแบ่งออกเป็น4กลุ่มใหญ่

เอิร์ทเทนแวร์  -ดูดซึมน้ำมาก แตกหักง่าย เนื้อจะมีสีน้ำตาลแดง เช่น เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน
สโตนแวร์       -เนื้อดินมีสีขาวออกเทาๆ เช่น เครื่องสังคโลก
พอร์ชเลน       -เนื้อผลิตภัณฑ์จะมีสีขาว แข็งแกร่งและหนา นิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร
โบนไชน่า      -ใช้ผลิตถ้วย จาน ชามที่ต้องการความขาวมากเป็นพิเศษ เนื้อภาชนะจะบาง เบา และมีความโปร่งแสง



เครื่องปั้นดินเผา พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย มีปริมาณและคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีการใช้วัตถุดิบที่มากด้วยปริมาณ และชนิดตามไปด้วย ซึ่งวัตถุดิบสำคัญในการทำเครื่องปั้นดินเผาไทย
 ก็คือดินขาวจากระนอง ดินดำ หรือบอลเคลย์ หินฟันม้า และทรายแก้ว จากหลายๆ แหล่งทั่วประเทศ


เครื่องปั้นดินเผา ยังนำมาประยุกต์ผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ ผสมผสานกับเทคโนโลยี  ซึ่งเคยเป็นของพื้นบ้านธรรมดาๆ ก็จะกลายมาเป็นเซรามิกระดับสากล สามารถนำไปขาย และส่งออกสร้างมูลค่ามหาศาล และสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทั้งประเทศได้


อ้างอิง หาวิดีโอใน you tube ว่า หมู่บ้านท่องเที่ยว otop เซรามิก 

http://www.vituzoh.com/
  


















วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เครื่องปั้นดินเผาล้านนา

เครื่องปั้นดินเผาล้านนา

ชนชาติเก่าแก่ที่สุดรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา คือ ชาวอียิปต์โบราณ อาศัยกันอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำไนท์ตามประวัติศาสตร์การขุดค้นพบซากของเหยือกน้ำ ได้ทำการวิจัยเครื่องปั้นดินเผานี้ว่ามีอายุถึงหมื่นปี และยังมีชนชาติเก่าแก่ที่สามารถทำได้เช่นกัน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ กรีก โรมัน เป็นต้น

เครื่องปั้นดินเผา เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างแนบแน่นมาเป็นเวลายาวนาน

เพราะเครื่องปั้นดินเผาเป็น ผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นบนเงื่อนไขความต้องการของสังคมที่เป็นเจ้าของ
เป็นผลงานจากมันสมองและฝีมือของผู้สร้างเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมิได้มีความหมายแต่เพียงคุณค่าทางสุนทรียะเท่านั้น แต่ยังเป็นงานฝีมือที่แสดงถึงภูมิปัญญาและพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ของ
ชุมชนที่สั่งสมและสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน

เครื่องถ้วยล้านนา 

ไหเคลือบสีเขียวอ่อน





เครื่องถ้วยล้านนา มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ส่วนมากมักทำด้วยเนื้อดินละเอียดและบาง ไม่หนัก และเทอะทะอย่างเครื่องสังคโลก แต่น้ำเคลือบนั้น ส่วนใหญ่แล้ว สวยงามสู้เคลือบสังคโลกไม่ได้

ส่วนใหญ่เป็นเตากูบ ก่อด้วยดินแล้วเผาให้แข็งตัว ลักษณะรูปร่าง และการแบ่งสัดส่วนของเตา คล้ายกับเตาสมัยสุโขทัย คือ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหน้าเป็นที่ใส่เชื้อเพลิง ตอนกลางเป็นที่ตั้งผลิตภัณฑ์เข้าเผา และส่วนท้ายเป็นปล่องไฟ ระบายความร้อน ผลิตภัณฑ์แต่ละแหล่งคล้ายกัน มาก
จะแตกต่างเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อย เท่านั้น

 น้ำต้น  หรือ หม้อน้ำ เป็นภาชนะเครื่องปั้นดินเผา(คล้ายคณโฑ)


มีรูปแบบและลวดลายแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและฝีมือช่างแต่ละคน
ถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นอยู่อย่างหนึ่ง ของ ชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน)
ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผา ที่ชาวล้านนาเค้านิยมเอาไว้ใส่น้ำดื่ม

เครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย โดยเฉพาะเครื่องปั้นดินเผาล้านนา เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยโดยใช้เครื่องปั้นดินเผาเป็นเครื่องมือในการศึกษา ประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจน วิถีชีวิตของชุมชนของยุคสมัยที่มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผานั้นๆ  












อ้างอิง
 http://catholic.or.th/
 http://school.obec.go.th/  
 http://fotobug.net











วัตถุดิบใช้ในการเผา


แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา


แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา มีอยู่หลายแห่ง  เช่น

ดินขาว         -  ลำปาง  สุโขทัย  สวรรคโลก  ชลบุรี
ดินเหนียว      -  ปทุมธานี  นนทบุรี  ราชบุรี  นครราชสีมา
 ควอรตซ์      -  เชียงใหม่  กำแพงเพชร  ลพบุรี   จันทบุรี  ระยอง
เฟลด์สปาร์    -  เชียงใหม่  ชลบุรี  กาญจนบุรี  ราชบุรี  นครศรีธรรมราช


การปั้นให้เป็นรูปต่างๆได้นั้น   แล้วแต่ลักษณะของภาชนะหรือวัตถุประสงค์ที่จะปั้น
ความเหนียวของเนื้อดินปั้นขึ้นอยู่กับการผสมเนื้อดินปั้นกับน้ำ  ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ชนิด คือ


1).ดินน้ำ (Slip)สำหรับใช้หล่อกับปูนปลาสเตอร์ผสมกับน้ำประมาณร้อยละ  24-30 เวลาปั้น ต้องใช้ปูนปลาสเตอร์เป็นแบบสำหรับเครื่องปั้นที่มีเนื้อดินปั้นบาง

2).ดินเหลว (Soft-์mud) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณร้อยละ 18-24เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้ออ่อนเหลวไม่เหนียวมากนัก

3). ดินเหนียว (Stiff-mud)เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำร้อยละ 14-20
ใช้ปั้นด้วยมือ หรือด้วยแบบก็ได้เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวกอิฐประดับเป็นต้น

4).ดินชื้น (Dry-press)เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณร้อยละ 6-14
เวลาปั้นต้องมีแบบทำด้วยโลหะและอัดให้เป็นรูปและเครื่องจักร ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวก กระเบื้องปูพื้นเป็นต้น





การขึ้นรูป

1).ปั้นวิธีอิสระหรือการปั้นด้วยมือ ให้มีรูปเหมือนของจริง หรือเป็นการปั้นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆด้วยมือ

2).ปั้นบนแป้นหมุน จะปั้นเฉพาะภาชนะที่มีรูปกลมหรือทรงกลม แบ่งออกเป็น 2 อย่าง

2.1)ปั้นครั้งเดียวเสร็จ เป็นการปั้นของขนาดเล็ก เช่น แจกัน กระถางหรือโถขนาดเล็ก

2.2)ปั้นสองตอนหรือสามตอน เป็นการปั้นของขนาดใหญ่ใช้วิธีปั้นตอนล่างก่อน ผึ่งให้หมาด ขดดินต่อขึ้นไปแล้วนำไปรีดบนแป้นหมุน นำไปผึ่งให้หมาดแล้วต่อขึ้นไปอีกตอนหนึ่ง ทำปากกา  เข่น การปั้นโอ่ง การปั้นแบบนี้ ต้องมีการวัดส่วนสูงและความกว้างของปากและก้นเพื่อให้มีขนาดเท่ากัน






 
การตากแห้ง

คือ การไล่น้ำออกจากของที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว การตากแห้งควรให้น้ำระเหยออกไปอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการแตกร้าว

การตากแห้งของแข็งที่มีขนาดแตกต่างกันทำได้โดย

1). ของใหญ่ ต้องปั้นในที่มิดชิด กันลมโกรกโดยมากทำหลังคาเกือบถึงพื้นและมีฝาปิดมิดชิด ของที่ปั้นเสร็จต้องคลุมเพื่อมิให้ถูกลมมากเกินไป

2).ของเล็ก ผึ่งลมในช่วงระยะหนึ่งแล้วเอาออกตากแดด

3).การตากในแสงแดดควรจะหมุนให้ถูกแดดทั่วกันทุกด้านเพื่อกันแตกร้าว บิดเบี้ยว

4). ของที่ตากแห้งในเตาอบไฟฟ้า ความร้อนครั้งแรกไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส แล้วจึงค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆจนถึง 110 องศาเซลเซียส เพื่อให้แห้งสนิท 



 
การเผา
เป็นขั้นตอนสุดท้าย ของการทำเครื่องปั้นดินเผา ในขั้นตอนนี้ทำได้ 2 วิธีคือ


1). การเผากลางแจ้ง เป็นวิธีการเผาแบบดั้งเดิมทำมานานแล้ว จะเผาตรงไหนก็ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นที่แห้ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเผาแบบกลางแจ้ง ได้แก่เปลือกไม้เต็งหรือฟางข้าวแห้ง การเผาแบบนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง จึงจะนำออกไปขายได้

2). การเผาโดยใช้เตาเผา เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ได้รับการสนับสนุนจาก อุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร กรมส่งเสริมอาชีพ กระทรวงอุตสาหกรรมจากกรุงเทพฯ ได้สร้างเตาเผาแบบไอร้อนลงได้ 2 ที่  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเผาได้แก่ ฟืนแห้ง ใช้เวลาในการเผาประมาณ 5-10 ชั่วโมง  คนที่ทำหน้าที่เผาจะเปิดประตูเผาที่ใช้ประมาณ 10-12 ชั่วโมง จึงนำเครื่องปั้นดินเอาออกจากเตานำไปขายได้  




























































































เครื่องปั้นดินเผาศิลาดล

ศิลาดลเครื่องปั้นดินเผา


เป็นการเคลือบธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ศิลาดล ( celadon ) หรือเครื่องปั้นดินเผาสังคโลก หมายถึง เครื่องปั้นดินเผา เคลือบด้วยวัสดุธรรมชาติมีลักษณะเป็นเคลือบใสสีเขียวหยกมองทะลุเนื้อดินได้ 
ผิวเคลือบจะราน ศิลาดลหรือสังคโลก มาจากคำภาษอังกฤษสันสกฤตคำว่า " ศิลา " แปลว่าหิน " ดล " แปลว่าเขียว รวมกันแปลว่าหินสีเขียว ทำขึ้นโดยวัสดุธรรมชาติล้วนๆไม่มีสารเคมีใด ๆ เจือปนจึงได้รับยกย่องว่ามีความปลอดภัยสุงจึงใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร "ศิลาดล" มักตกแต่งให้สวยงามโดยการขูดแกะสลักเซาะร่องหรือ กด ประทับ ก่อนที่จะเคลือบ

วัตถุดิบที่ใช้ทำศิลาดล

ใช้ดินสโตนแวร์(stoneware)คือ ดินเหนียว(ดำ)ที่มีความแข็งแกร่งและต้องมีความชื้น20%เพื่อให้
สามารถปั้นได้

ขั้นตอน-กระบวนการผลิต

เครื่องปั้นดินเผา ศิลาดล
1).การเตรียมดิน
2).การปั้นมี2วิธี
2.1) การปั้นรูปด้วยมือ
2.2)นำดินมาละลายในน้ำ เทใส่แบบพิมพ์ หรือเบ้า
3).หลังจากปั้นหรือขึ้นรูปเรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้ชิ้นงานแห้งตามธรรมชาติ





4).นำชิ้นงานไปเตาเผา มีอุณหภูมิที่ 800 องศาเซลเซียส หรือที่เรียกว่า เผาแบบบิสกิต
(Bisques Fired) ในการเผาขั้นตอนนี้มีข้อดีคือ สามารถเก็บรักษาได้นาน โดยไม่เสียรูป


 
5). นำชิ้นงานบิสกิต ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว ไปตกแต่งเขียนลาย







6). นำชิ้นงานจากข้อ5ไปชุบน้ำเคลือบทิ้งให้แห้งตกแต่งเคลือบให้ละเอียดเรียบร้อย



7). นำไปเผาในเตาเผา ใช้อุณหภูมิที่ 1250-1300องศาเซลเซียสใช้เวลา
เผา10-12ชั่วโมง การเผาอยู่ในระบบลดออกซิเจน(reduction frieg)
เพื่อให้เกิดสีเขียวและแตกลายงา ทิ้งไว้ให้เย็น 12 ชั่วโมงจากนั้นนำออกจากเตาเผาได้

ถ้าต้องการลงทอง เพื่อเพิ่มมูลค่าและความโดดเด่นก็ต้องเพิ่มลวดลายด้วยทอง
แล้วนำเข้าเตาเผาอีก5-6ชั่วโมงเผาที่อุณหภูมิ800องศาเซลเซียส ภายในอากาศที่มีออกซิเจน
เป็นส่วนประกอบโดยไม่มีคาร์บอนไดออกไซด์








เอกลักษณ์หรือจุดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาศิลาดล

 คือ สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะเฉพาะตัว มีสีเขียวไข่กา หรือสีเขียวหยก เกิดจากการนำขี้เถ้าจากไม้รกฟ้าและไม้ก่อ หรือเฟคริคออกไซด์ หินปูน หินเขี้ยวหนุมาน แร่เฟสสปาร์ ผสมกับดินหน้านาเป็นน้ำเคลือบ เผาด้วยความร้อนสูง
มีรอยรานหรือแตกลายงา (Crack) บนผิวเนื้อซึ่งเกิด จากการหดตัวของเนื้อดินกับน้ำเคลือบที่ต่างกันเมื่อเย็นตัวลง ซึ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องปั้นดินเผาศิลาดลทำให้ดูสวยงามมาก


เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญและจินตนาการของช่างแต่ละคนทำ
ให้ดูเป็นสิ่งมีค่า เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจตัวผลิตภัณฑ์เอง ไม่มีสารเคมีเจือปน จึงได้รับการยกย่อง ในด้านความงามและปลอดภัยในการใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร 



 
การใช้ประโยชน์ เป็นของตกแต่งบ้านและใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ชุดอาหาร ซึ่งสามารถใช้ในเตาอบไมโครเวฟได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะไม่มีสารเคมีใดๆ มีลวดลายบอกถึงความเป็นไทย ลวดลายของเครื่องปั้นดินเผาศิลาดล เป็นลวดลายที่สะท้อนถึงสังคมและวิถีไทย เช่น เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไทย วัฒนธรรม ประเพณี วรรณคดีไทย และลวดลายไทยต่างๆ


อ้างอิง









































































วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครื่องปั้นดินเผาไทย


  เครื่องปั้นดินเผา นั้นเกิดขึ้นได้ เนื่องจากความจำเป็น ความต้องการของมนุษย์คงทำขึ้นเพื่อเป็นภาชนะใส่อาหารและน้ำ แล้วต่อมามนุษย์ได้พัฒนาเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพมากขึ้น
เมื่อในสมัย ยุคหินกลาง เครื่องปั้นดินเผาไทยผิวเคลือบมีความเงางาม สมัยหินใหม่นี้ มีรูปแบบลวดลายแปลกใหม่มี ลายเรียบ จนถึงลายวิจิตรที่มีความงดงามมาก
สมัยยุคโลหะ นิยมกันมากในวัฒนธรรม คือการทำลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยงเป็นต้น
บรรจุอาหารและสิ่งของมี การประดิษฐคิดค้น และปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆอยู่ตลอดเวลา
ในพื้นที่ราชอาณาไทย ได้ปรากฎแหล่งเตาเผา เครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก
หลายชนิดทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาเผา ในราชอาณาจักรไทยและที่ผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศ ได้ถูกนำมาเพื่อใช้สอยและจำหน่ายให้กับกลุ่มชนบางกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกผลิตและตกแต่งด้วยเทคนิค ลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่าง ในแต่ละท้องถิ่นหรือตาม สภาพที่ตั้งของแต่ละชุมชนบางแห่ง อาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การที่
ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกัน จึงทำให้มีอิทธิพลต่างๆ สามารถส่งผ่านไปอีกอีกชุมชนได้และก่อให้เกิด
การแลกเปลี่ยนศิลปะและเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน
มาดูวิธีการทำเครื่องปั้นดินเผา


วิธีการขั้นตอน การทำเครื่องปั้นดินเผาตอนสุดท้าย คือการเผา ประเภทผลิตภัณฑ์ 
1). เนื้อทึบ ผิวหยาบขรุขระ มีความพรุน ดูดความชื้น ซึมน้ำได้
2).เนื้อหนาเนียนละเอียด ทึบแสงผิวมันน้ำซึมไม่ได้
3).เนื้อบางแน่นละเอียด ผิวเป็นมัน เห็นโปร่งแสง น้ำซึมไม่ได้
ผลิตภัณฑ์3ข้อนี้ ใช้อุณหภูมิในการเผา(c) 1100 องศา ใช้ระยะเวลาในการเผาประมาณ 24 ชั่วโมง

เครื่องปั้นดินเผาของไทยเรา มีการผลิตตกแต่งลวดลายได้สวยงามมีคุณภาพ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการ นำไปจัดวางตกแต่งในสวน หรือนำไปประดับตกแต่งในตู้โชว์ เครื่องปั้นดินเผาผู้ผลิตยังทำประโยชน์ในการใช้ เป็นแจกันไว้ใส่ดอกไม้ เป็นที่ใส่ของที่มีคุณค่า  เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนด้วยเช่น ครกตำน้ำพริกปัจจุุบัน เครื่องปั้นดินเผาทำรายได้ดีและสร้างผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ มีมูลค่า เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก

อ้างอิง  http://school.obec.go.th/

                                    
"เครื่องถ้วย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "เซรามิค" (Ceramic) หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาทุกชนิดที่เคลือบและไม่เคลือบ 
เครื่องปั้นดินเผาอาจจำแนกตามแหล่งผลิตที่สำคัญๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง บ้านปราสาท เครื่องปั้น ดินเผาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยสุโขทัย เครื่องถ้วยล้านนา เป็นต้น
เครื่องปั้นดินเผาไทย ที่ถือว่าเป็นมรดกของชาติ กำเนิด และมีวิวัฒนาการสั่งสมทางด้านศิลปะภูมิปัญญาพื้นบ้านมาอย่างยาวนาน กว่าจะกลายเป็นเซรามิกที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี และกว่าที่จะกลายมาเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกที่ยิ่งใหญ่   ต้องอาศัยการก่อร่างสร้างรูปมาจากระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน อาศัยทั้งความรู้ เชิงช่างทางศิลปะ ทรัพยากร เพื่อที่จะสร้างสินค้าส่งออกมูลค่ามหาศาลให้เกิดขึ้นได้

 เครื่องปั้นดินเผาไทยยังแบ่งออกตามสมัยทวารวดี แบ่งเป็น6 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นแบบเรียบสีแดง
ระยะที่ 3 ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดที่ ต.จันเสน พยุหะคีรี เครื่องปั้นดินเผาที่เนื้อแกร่งและสีมัน สวยงามมาก
ระยะที่ 4 ได้พบเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆในต.จันเสน
ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นผู้ชาย เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือ
แบบที่ 1 : พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลาย ประทับอยู่ เช่น ลายช้าง
แบบที่ 2 : พบไหปากผาย รอบปากสีแดงและขาว
ระยะที่ 6 พบเครื่องปั้นดินเผาเพียง 2 – 3  แบบไม่ได้เผากลางแจ้งเหมือนเมื่อก่อน ไม่ได้เผาเคลือบแต่ก็เผาได้อย่างสม่ำเสมอและแข็งดี
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย  พบในบริเวณสนามบิน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล(ไทยขอม)เป็นทั้งรูปคนและสัตว์
เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน  ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด  ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัย ได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม

                     

 เครื่องปั้นดินเผาในสมัยทวารวดี
 

เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย


                      
                                                          เครื่องปั้นดินเผาในสมัยลพบุรี




 เครื่องปั้นดินเผาในสมัยสุโขทัย
  เป็นเครื่องถ้วย ในสมัยนั้น ทำแบบ
   อุตสาหกรรม

การประกอบอุตสาหกรรม เครื่องปั้นดินเผาหรืออุตสาหกรรมเซรามิกส์ถ้าจะให้ได้ผลดี ประกอบกับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ การพัฒนาอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีในประเทศไทย เทคโนโลยีและการพลังงาน ในปี พ.ศ.2479 ได้มีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา  ประเทศไทยมีวัตถุดิบชนิดดีปริมาณมาก สามารถใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดดีได้ เป็นผลให้มีการลงทุนสร้างโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นอีกมากในปี พ.ศ.2503 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ได้ประกาศ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเซรามิกส์


ยังมีลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นอยู่ การใส่ใจในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาของแต่ละชิ้นที่ได้ทำขึ้น และ

เพื่อระลึกถึงการใช้เครื่องปั้นดินเผาของคนในสมัยก่อน ซึ่งได้มีความสำคัญมากจนมาถึงยุคปัจจุบัน


                           

อ้างอิง http://catholic.or.th/

http://school.obec.go.th/