วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครื่องปั้นดินเผาไทย


  เครื่องปั้นดินเผา นั้นเกิดขึ้นได้ เนื่องจากความจำเป็น ความต้องการของมนุษย์คงทำขึ้นเพื่อเป็นภาชนะใส่อาหารและน้ำ แล้วต่อมามนุษย์ได้พัฒนาเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพมากขึ้น
เมื่อในสมัย ยุคหินกลาง เครื่องปั้นดินเผาไทยผิวเคลือบมีความเงางาม สมัยหินใหม่นี้ มีรูปแบบลวดลายแปลกใหม่มี ลายเรียบ จนถึงลายวิจิตรที่มีความงดงามมาก
สมัยยุคโลหะ นิยมกันมากในวัฒนธรรม คือการทำลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยงเป็นต้น
บรรจุอาหารและสิ่งของมี การประดิษฐคิดค้น และปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆอยู่ตลอดเวลา
ในพื้นที่ราชอาณาไทย ได้ปรากฎแหล่งเตาเผา เครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก
หลายชนิดทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาเผา ในราชอาณาจักรไทยและที่ผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศ ได้ถูกนำมาเพื่อใช้สอยและจำหน่ายให้กับกลุ่มชนบางกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกผลิตและตกแต่งด้วยเทคนิค ลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่าง ในแต่ละท้องถิ่นหรือตาม สภาพที่ตั้งของแต่ละชุมชนบางแห่ง อาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การที่
ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกัน จึงทำให้มีอิทธิพลต่างๆ สามารถส่งผ่านไปอีกอีกชุมชนได้และก่อให้เกิด
การแลกเปลี่ยนศิลปะและเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน
มาดูวิธีการทำเครื่องปั้นดินเผา


วิธีการขั้นตอน การทำเครื่องปั้นดินเผาตอนสุดท้าย คือการเผา ประเภทผลิตภัณฑ์ 
1). เนื้อทึบ ผิวหยาบขรุขระ มีความพรุน ดูดความชื้น ซึมน้ำได้
2).เนื้อหนาเนียนละเอียด ทึบแสงผิวมันน้ำซึมไม่ได้
3).เนื้อบางแน่นละเอียด ผิวเป็นมัน เห็นโปร่งแสง น้ำซึมไม่ได้
ผลิตภัณฑ์3ข้อนี้ ใช้อุณหภูมิในการเผา(c) 1100 องศา ใช้ระยะเวลาในการเผาประมาณ 24 ชั่วโมง

เครื่องปั้นดินเผาของไทยเรา มีการผลิตตกแต่งลวดลายได้สวยงามมีคุณภาพ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในการ นำไปจัดวางตกแต่งในสวน หรือนำไปประดับตกแต่งในตู้โชว์ เครื่องปั้นดินเผาผู้ผลิตยังทำประโยชน์ในการใช้ เป็นแจกันไว้ใส่ดอกไม้ เป็นที่ใส่ของที่มีคุณค่า  เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนด้วยเช่น ครกตำน้ำพริกปัจจุุบัน เครื่องปั้นดินเผาทำรายได้ดีและสร้างผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ มีมูลค่า เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก

อ้างอิง  http://school.obec.go.th/

                                    
"เครื่องถ้วย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "เซรามิค" (Ceramic) หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาทุกชนิดที่เคลือบและไม่เคลือบ 
เครื่องปั้นดินเผาอาจจำแนกตามแหล่งผลิตที่สำคัญๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง บ้านปราสาท เครื่องปั้น ดินเผาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยสุโขทัย เครื่องถ้วยล้านนา เป็นต้น
เครื่องปั้นดินเผาไทย ที่ถือว่าเป็นมรดกของชาติ กำเนิด และมีวิวัฒนาการสั่งสมทางด้านศิลปะภูมิปัญญาพื้นบ้านมาอย่างยาวนาน กว่าจะกลายเป็นเซรามิกที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี และกว่าที่จะกลายมาเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกที่ยิ่งใหญ่   ต้องอาศัยการก่อร่างสร้างรูปมาจากระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน อาศัยทั้งความรู้ เชิงช่างทางศิลปะ ทรัพยากร เพื่อที่จะสร้างสินค้าส่งออกมูลค่ามหาศาลให้เกิดขึ้นได้

 เครื่องปั้นดินเผาไทยยังแบ่งออกตามสมัยทวารวดี แบ่งเป็น6 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นแบบเรียบสีแดง
ระยะที่ 3 ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดที่ ต.จันเสน พยุหะคีรี เครื่องปั้นดินเผาที่เนื้อแกร่งและสีมัน สวยงามมาก
ระยะที่ 4 ได้พบเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆในต.จันเสน
ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นผู้ชาย เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือ
แบบที่ 1 : พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลาย ประทับอยู่ เช่น ลายช้าง
แบบที่ 2 : พบไหปากผาย รอบปากสีแดงและขาว
ระยะที่ 6 พบเครื่องปั้นดินเผาเพียง 2 – 3  แบบไม่ได้เผากลางแจ้งเหมือนเมื่อก่อน ไม่ได้เผาเคลือบแต่ก็เผาได้อย่างสม่ำเสมอและแข็งดี
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย  พบในบริเวณสนามบิน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล(ไทยขอม)เป็นทั้งรูปคนและสัตว์
เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน  ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด  ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัย ได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม

                     

 เครื่องปั้นดินเผาในสมัยทวารวดี
 

เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย


                      
                                                          เครื่องปั้นดินเผาในสมัยลพบุรี




 เครื่องปั้นดินเผาในสมัยสุโขทัย
  เป็นเครื่องถ้วย ในสมัยนั้น ทำแบบ
   อุตสาหกรรม

การประกอบอุตสาหกรรม เครื่องปั้นดินเผาหรืออุตสาหกรรมเซรามิกส์ถ้าจะให้ได้ผลดี ประกอบกับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ การพัฒนาอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีในประเทศไทย เทคโนโลยีและการพลังงาน ในปี พ.ศ.2479 ได้มีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา  ประเทศไทยมีวัตถุดิบชนิดดีปริมาณมาก สามารถใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดดีได้ เป็นผลให้มีการลงทุนสร้างโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นอีกมากในปี พ.ศ.2503 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ได้ประกาศ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเซรามิกส์


ยังมีลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นอยู่ การใส่ใจในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาของแต่ละชิ้นที่ได้ทำขึ้น และ

เพื่อระลึกถึงการใช้เครื่องปั้นดินเผาของคนในสมัยก่อน ซึ่งได้มีความสำคัญมากจนมาถึงยุคปัจจุบัน


                           

อ้างอิง http://catholic.or.th/

http://school.obec.go.th/