เครื่องปั้นดินเผา นั้นเกิดขึ้นได้ เนื่องจากความจำเป็น ความต้องการของมนุษย์คงทำขึ้นเพื่อเป็นภาชนะใส่อาหารและน้ำ แล้วต่อมามนุษย์ได้พัฒนาเครื่องปั้นดินเผาที่มีคุณภาพมากขึ้น
เมื่อในสมัย ยุคหินกลาง เครื่องปั้นดินเผาไทยผิวเคลือบมีความเงางาม สมัยหินใหม่นี้ มีรูปแบบลวดลายแปลกใหม่มี ลายเรียบ จนถึงลายวิจิตรที่มีความงดงามมาก
สมัยยุคโลหะ นิยมกันมากในวัฒนธรรม คือการทำลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยงเป็นต้น
บรรจุอาหารและสิ่งของมี การประดิษฐคิดค้น และปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆอยู่ตลอดเวลา
ในพื้นที่ราชอาณาไทย ได้ปรากฎแหล่งเตาเผา เครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก
หลายชนิดทั้งที่ผลิตจากแหล่งเตาเผา ในราชอาณาจักรไทยและที่ผลิตจากแหล่งเตาในต่างประเทศ ได้ถูกนำมาเพื่อใช้สอยและจำหน่ายให้กับกลุ่มชนบางกลุ่ม เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ถูกผลิตและตกแต่งด้วยเทคนิค ลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของช่าง ในแต่ละท้องถิ่นหรือตาม สภาพที่ตั้งของแต่ละชุมชนบางแห่ง อาจมีแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การที่
ชุมชนบางแห่งมีพื้นที่ติดต่อกัน จึงทำให้มีอิทธิพลต่างๆ สามารถส่งผ่านไปอีกอีกชุมชนได้และก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะและเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน
มาดูวิธีการทำเครื่องปั้นดินเผา
วิธีการขั้นตอน การทำเครื่องปั้นดินเผาตอนสุดท้าย คือการเผา ประเภทผลิตภัณฑ์
1). เนื้อทึบ ผิวหยาบขรุขระ มีความพรุน ดูดความชื้น ซึมน้ำได้
2).เนื้อหนาเนียนละเอียด ทึบแสงผิวมันน้ำซึมไม่ได้
3).เนื้อบางแน่นละเอียด ผิวเป็นมัน เห็นโปร่งแสง น้ำซึมไม่ได้
ผลิตภัณฑ์3ข้อนี้ ใช้อุณหภูมิในการเผา(c) 1100 องศา ใช้ระยะเวลาในการเผาประมาณ 24 ชั่วโมง
อ้างอิง http://school.obec.go.th/
"เครื่องถ้วย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "เซรามิค" (Ceramic) หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาทุกชนิดที่เคลือบและไม่เคลือบ
เครื่องปั้นดินเผาอาจจำแนกตามแหล่งผลิตที่สำคัญๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง บ้านปราสาท เครื่องปั้น ดินเผาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยสุโขทัย เครื่องถ้วยล้านนา เป็นต้น
เครื่องปั้นดินเผาไทย ที่ถือว่าเป็นมรดกของชาติ กำเนิด และมีวิวัฒนาการสั่งสมทางด้านศิลปะภูมิปัญญาพื้นบ้านมาอย่างยาวนาน กว่าจะกลายเป็นเซรามิกที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี และกว่าที่จะกลายมาเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยการก่อร่างสร้างรูปมาจากระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน อาศัยทั้งความรู้ เชิงช่างทางศิลปะ ทรัพยากร เพื่อที่จะสร้างสินค้าส่งออกมูลค่ามหาศาลให้เกิดขึ้นได้เครื่องปั้นดินเผาไทยยังแบ่งออกตามสมัยทวารวดี แบ่งเป็น6 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นแบบเรียบสีแดง
ระยะที่ 3 ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดที่ ต.จันเสน พยุหะคีรี เครื่องปั้นดินเผาที่เนื้อแกร่งและสีมัน สวยงามมาก
ระยะที่ 4 ได้พบเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆในต.จันเสน
ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นผู้ชาย เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือ
แบบที่ 1 : พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลาย ประทับอยู่ เช่น ลายช้าง
แบบที่ 2 : พบไหปากผาย รอบปากสีแดงและขาว
ระยะที่ 6 พบเครื่องปั้นดินเผาเพียง 2 – 3 แบบไม่ได้เผากลางแจ้งเหมือนเมื่อก่อน ไม่ได้เผาเคลือบแต่ก็เผาได้อย่างสม่ำเสมอและแข็งดี
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย พบในบริเวณสนามบิน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล(ไทยขอม)เป็นทั้งรูปคนและสัตว์
เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัย ได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยทวารวดี
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยลพบุรี
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยสุโขทัย
เป็นเครื่องถ้วย ในสมัยนั้น ทำแบบ
อุตสาหกรรม
ยังมีลวดลายที่บ่งบอกถึงความเป็นอยู่ การใส่ใจในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาของแต่ละชิ้นที่ได้ทำขึ้น และ
เพื่อระลึกถึงการใช้เครื่องปั้นดินเผาของคนในสมัยก่อน ซึ่งได้มีความสำคัญมากจนมาถึงยุคปัจจุบัน
อ้างอิง http://catholic.or.th/
http://school.obec.go.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น