วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัตถุดิบใช้ในการเผา


แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา


แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา มีอยู่หลายแห่ง  เช่น

ดินขาว         -  ลำปาง  สุโขทัย  สวรรคโลก  ชลบุรี
ดินเหนียว      -  ปทุมธานี  นนทบุรี  ราชบุรี  นครราชสีมา
 ควอรตซ์      -  เชียงใหม่  กำแพงเพชร  ลพบุรี   จันทบุรี  ระยอง
เฟลด์สปาร์    -  เชียงใหม่  ชลบุรี  กาญจนบุรี  ราชบุรี  นครศรีธรรมราช


การปั้นให้เป็นรูปต่างๆได้นั้น   แล้วแต่ลักษณะของภาชนะหรือวัตถุประสงค์ที่จะปั้น
ความเหนียวของเนื้อดินปั้นขึ้นอยู่กับการผสมเนื้อดินปั้นกับน้ำ  ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ชนิด คือ


1).ดินน้ำ (Slip)สำหรับใช้หล่อกับปูนปลาสเตอร์ผสมกับน้ำประมาณร้อยละ  24-30 เวลาปั้น ต้องใช้ปูนปลาสเตอร์เป็นแบบสำหรับเครื่องปั้นที่มีเนื้อดินปั้นบาง

2).ดินเหลว (Soft-์mud) เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณร้อยละ 18-24เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะมีเนื้ออ่อนเหลวไม่เหนียวมากนัก

3). ดินเหนียว (Stiff-mud)เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำร้อยละ 14-20
ใช้ปั้นด้วยมือ หรือด้วยแบบก็ได้เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวกอิฐประดับเป็นต้น

4).ดินชื้น (Dry-press)เป็นเนื้อดินปั้นที่ผสมกับน้ำประมาณร้อยละ 6-14
เวลาปั้นต้องมีแบบทำด้วยโลหะและอัดให้เป็นรูปและเครื่องจักร ใช้ปั้นด้วยมือหรือด้วยแบบก็ได้เหมาะสำหรับทำเครื่องปั้นจำพวก กระเบื้องปูพื้นเป็นต้น





การขึ้นรูป

1).ปั้นวิธีอิสระหรือการปั้นด้วยมือ ให้มีรูปเหมือนของจริง หรือเป็นการปั้นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆด้วยมือ

2).ปั้นบนแป้นหมุน จะปั้นเฉพาะภาชนะที่มีรูปกลมหรือทรงกลม แบ่งออกเป็น 2 อย่าง

2.1)ปั้นครั้งเดียวเสร็จ เป็นการปั้นของขนาดเล็ก เช่น แจกัน กระถางหรือโถขนาดเล็ก

2.2)ปั้นสองตอนหรือสามตอน เป็นการปั้นของขนาดใหญ่ใช้วิธีปั้นตอนล่างก่อน ผึ่งให้หมาด ขดดินต่อขึ้นไปแล้วนำไปรีดบนแป้นหมุน นำไปผึ่งให้หมาดแล้วต่อขึ้นไปอีกตอนหนึ่ง ทำปากกา  เข่น การปั้นโอ่ง การปั้นแบบนี้ ต้องมีการวัดส่วนสูงและความกว้างของปากและก้นเพื่อให้มีขนาดเท่ากัน






 
การตากแห้ง

คือ การไล่น้ำออกจากของที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว การตากแห้งควรให้น้ำระเหยออกไปอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการแตกร้าว

การตากแห้งของแข็งที่มีขนาดแตกต่างกันทำได้โดย

1). ของใหญ่ ต้องปั้นในที่มิดชิด กันลมโกรกโดยมากทำหลังคาเกือบถึงพื้นและมีฝาปิดมิดชิด ของที่ปั้นเสร็จต้องคลุมเพื่อมิให้ถูกลมมากเกินไป

2).ของเล็ก ผึ่งลมในช่วงระยะหนึ่งแล้วเอาออกตากแดด

3).การตากในแสงแดดควรจะหมุนให้ถูกแดดทั่วกันทุกด้านเพื่อกันแตกร้าว บิดเบี้ยว

4). ของที่ตากแห้งในเตาอบไฟฟ้า ความร้อนครั้งแรกไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส แล้วจึงค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิอย่างช้าๆจนถึง 110 องศาเซลเซียส เพื่อให้แห้งสนิท 



 
การเผา
เป็นขั้นตอนสุดท้าย ของการทำเครื่องปั้นดินเผา ในขั้นตอนนี้ทำได้ 2 วิธีคือ


1). การเผากลางแจ้ง เป็นวิธีการเผาแบบดั้งเดิมทำมานานแล้ว จะเผาตรงไหนก็ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นที่แห้ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเผาแบบกลางแจ้ง ได้แก่เปลือกไม้เต็งหรือฟางข้าวแห้ง การเผาแบบนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง จึงจะนำออกไปขายได้

2). การเผาโดยใช้เตาเผา เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ได้รับการสนับสนุนจาก อุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร กรมส่งเสริมอาชีพ กระทรวงอุตสาหกรรมจากกรุงเทพฯ ได้สร้างเตาเผาแบบไอร้อนลงได้ 2 ที่  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเผาได้แก่ ฟืนแห้ง ใช้เวลาในการเผาประมาณ 5-10 ชั่วโมง  คนที่ทำหน้าที่เผาจะเปิดประตูเผาที่ใช้ประมาณ 10-12 ชั่วโมง จึงนำเครื่องปั้นดินเอาออกจากเตานำไปขายได้  




























































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น