เครื่องปั้นดินเผาล้านนา
ชนชาติเก่าแก่ที่สุดรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา คือ ชาวอียิปต์โบราณ อาศัยกันอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำไนท์ตามประวัติศาสตร์การขุดค้นพบซากของเหยือกน้ำ ได้ทำการวิจัยเครื่องปั้นดินเผานี้ว่ามีอายุถึงหมื่นปี และยังมีชนชาติเก่าแก่ที่สามารถทำได้เช่นกัน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ กรีก โรมัน เป็นต้น
เพราะเครื่องปั้นดินเผาเป็น ผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นบนเงื่อนไขความต้องการของสังคมที่เป็นเจ้าของ
เป็นผลงานจากมันสมองและฝีมือของผู้สร้างเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมิได้มีความหมายแต่เพียงคุณค่าทางสุนทรียะเท่านั้น แต่ยังเป็นงานฝีมือที่แสดงถึงภูมิปัญญาและพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ของ
ชุมชนที่สั่งสมและสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน
เครื่องถ้วยล้านนา
ไหเคลือบสีเขียวอ่อน
ส่วนใหญ่เป็นเตากูบ ก่อด้วยดินแล้วเผาให้แข็งตัว ลักษณะรูปร่าง และการแบ่งสัดส่วนของเตา คล้ายกับเตาสมัยสุโขทัย คือ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหน้าเป็นที่ใส่เชื้อเพลิง ตอนกลางเป็นที่ตั้งผลิตภัณฑ์เข้าเผา และส่วนท้ายเป็นปล่องไฟ ระบายความร้อน ผลิตภัณฑ์แต่ละแหล่งคล้ายกัน มาก
จะแตกต่างเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อย เท่านั้น
น้ำต้น หรือ หม้อน้ำ เป็นภาชนะเครื่องปั้นดินเผา(คล้ายคณโฑ)
มีรูปแบบและลวดลายแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและฝีมือช่างแต่ละคน
ถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเป็นอยู่อย่างหนึ่ง ของ ชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน)
ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผา ที่ชาวล้านนาเค้านิยมเอาไว้ใส่น้ำดื่ม
เครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย โดยเฉพาะเครื่องปั้นดินเผาล้านนา เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยโดยใช้เครื่องปั้นดินเผาเป็นเครื่องมือในการศึกษา ประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจน วิถีชีวิตของชุมชนของยุคสมัยที่มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผานั้นๆ
อ้างอิง
http://catholic.or.th/
http://school.obec.go.th/
http://fotobug.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น